ข้อต่อสเตนเลสสตีลสำหรับเยื้องศูนย์และยืดหด (Stainless Steel Flexible and Expansion Joint)
จากผลกระทบที่อุณหภูมิของท่อที่สูงขึ้น การรับแรงกระทำต่อท่อที่มากเกิน ความล้าของวัสดุของท่อ ระยะเวลาที่ท่อติดตั้งมานาน และปัญหาที่ต้องการบำรุงรักษาท่อที่เกิดเร็วขึ้น สามารถลดหรือหลีกเลี่ยงได้ ด้วยการใช้ข้อต่ออ่อนสเตนเลสและข้อต่อสเตนเลสรองรับการยืดหดตัวของ Tozen
Tozen เป็นผู้ผลิต ออกแบบและจัดจำหน่ายสินค้าที่น่าเชื่อถือ ทำให้สามารถตอบสนองเรื่องตามความต้องการในใช้งานโดยเฉพาะได้ และเนื่องจากมีโรงงานผลิตอยู่ในประเทศไทย ทำให้สามารถนำเสนอสินค้าตามมาตรฐานได้หลายรูปแบบ และจัดส่งได้รวดเร็ว ส่วนถ้าต้องการสินค้าที่ใช้เฉพาะเจอะจงของการใช้งานแต่ละรูปแบบ ก็จะสามารถออกแบบและผลิต ตามความต้องการสินค้าโดยเฉพาะนั้นๆ ได้
ข้อต่ออ่อนที่ทำด้วยโลหะ สเตนเลสพร้อมสายถักของ Tozen จะถูกออกแบบมาให้สามารถ ลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงที่ถ่ายมาจากอุปกรณ์ และรับการเยื้องศูนย์ของท่อ ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์เช่น ปั๊ม, คอมเพรสเซอร์, หรืออุปกรณ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มระยะเวลาการใช้งานของระบบท่อ
ข้อต่ออ่อนสเตนเลสพร้อมสายถักสเตนเลส ถูกออกแบบเพื่อรับแรงดันในระบบท่อได้ และทำหน้าที่ติดสายอ่อนกับข้อต่อต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ไม่เกิดการแตกร้าวของข้อต่อ หรือข้อต่อต่างๆอันเกิดจากการขยายตัวหรือเยื้องศูนย์
ชนิดวัสดุของสายอ่อนจะมีอยู่หลายชนิด ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่อุตสาหกรรม ซึ่ง Tozen จะวัสดุ 304 Stainless Steel เป็นมาตรฐาน แต่สามารถเปลี่ยนวัสดุของสายยืดหยุ่นเป็น Stainless steel 316L ได้ เพื่อเพิ่มการทนการกัดกร่อนได้มากขึ้น ส่วนข้อต่อ เช่น ยูเนียน หน้าแปลน และอื่นๆ ก็มีวัสดุหลายชนิด ก็สามารถจัดหาเพิ่มเติมโดยการสอบถามกับทาง Tozen ได้
สายอ่อนสแเตนเลสระบบดับเพลิง (Stainless Steel Sprinkler Hose)
- ยืดหยุ่น โค้งงอ หักหลบสิ่งกีดขวางได้ง่าย
- ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ปลอดภัยไร้รอยเชื่อม และประกายไฟ
- ไม่ต้องใช้ช่างฝีมือพิเศษในการติดตั้ง
- ลดความเสี่ยงในการรั่วตามจุดต่อ
- สะดวกในการเปลี่ยนแปลงระดับตำแหน่งหัวสปริงเกอร์หลังการติดตั้ง
- ได้รับการรับรองตามมาตราฐานสากลของระบบดับเพลิง (UL,FM,Vds,3C)
ในกรณีที่ระบบท่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แล้วมีผลทำให้ท่อยืดหรือหดตัว แล้วไม่ได้รับการออกแบบให้มีระบบรองรับการเคลื่อนตัว ก็จะทำให้ท่อหรือจุดยึดท่อเสียหายได้ ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างง่ายและรวดเร็วคือติดตั้งข้อต่อสเตนเลสรับการยืดและหดตัวของ Tozen ซึ่งสามารถออกแบบให้รองรับการเคลื่อนตัวของท่อตามแนวแกน(Axial) แนวเยื้องศูนย์(Lateral) และแนวมุม(Angular Direction)
–> See Catalog
ลักษณะการใช้งาน (Application) :
ข้อต่อรับการยืดและหดตัวสเตนเลสจะถูกนำไปใช้ในโครงการอาคารและโรงงานทั่วไป โดยสามารถออกแบบให้นำไปใช้ในการรับแรงสั่นสะเทือนจากอุปกรณ์ และรับการยืดหรือหดตัวของท่อเนื่องจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงและเพื่อใช้ใน ระบบท่อไอน้ำ น้ำร้อน ระบบทำความร้อน และระบบปรับอากาศ และอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้า และ แท่นขุดเจาะน้ำมัน
Tozen จะใช้วัสดุ SUS 304 Stainless ที่นำมาทำเป็น ลอน เพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการใช้งานได้หลากหลาย แต่อย่างไรก็ตามสามารถเปลี่ยนวัสดุของ Bellow เป็น SUS 316L และ SUS 321 สำหรับงานที่เฉพาะเจาะจงได้ ส่วนชิ้นส่วนอื่นๆ เช่น หน้าแปลน ท่อตรง ส่วนที่เป็นฝาครอบ Bellow จะใช้วัสดุตามวัสดุของท่อหรืออุปกรณ์ที่ต่อเข้ากับข้อต่อ
ชนิดของข้อต่อรับการยืดและหดตัว มีอยู่หลายชนิด เช่น Axial Free Type, Tied Universal Type, Hinge Type, และ Gimbal Type ซึ่งข้อต่อรับการยืดและหดตัวของ Tozen สามารถผลิตและออกแบบขนาดได้ตั้งแต่ 40 มม ถึง 500 มม และสามารถรับแรงดันใช้งานได้หลากหลาย แต่ในกรณีมีขนาดใหญ่กว่านี้ ก็สามารถผลิตได้ โดยติดต่อสอบถามกับทาง Tozen เพื่อให้ทางบริษัทแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมได้
ข้อควรระวังในการจัดส่งและติดตั้งข้อต่อสเตนเลส
1. วัสดุที่บางของ Bellow
เนื่องจาก Bellow ทำมาจากแผ่น Stainless ที่บางนำมาขึ้นรูป จึงต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหาย ในระหว่างการจัดส่งและติดตั้ง
2. ให้ถอด Set Bolt เมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ
ถ้าติดตั้งข้อต่อรับการยืดและหดตัวยังไม่เสร็จ ห้ามถอด Set Bolt ให้ถอดออกหลังจากที่ติดตั้งแล้วเสร็จเท่านั้น เพื่อให้สามารถรับการเคลื่อนตัวของท่อได้อย่างเหมาะสม
3. ทิศทางการไหล
การติดตั้งให้หมุนและติดตั้งตามทิศทางการไหล ตามที่ระบุไว้บนตัวข้อต่อ ห้ามติดตั้งทิศทางการไหล ตรงข้ามกับทิศการไหลที่แสดงทิศทางบนตัวข้อต่อ
4. แนวการติดตั้งข้อต่อ
แนวการเคลื่อนตัวของข้อต่อ ที่มีอุปกรณ์ประกอบ เช่น Hinge หรือ Gimbal จะต้องติดตั้งให้เป็นไปตามแนวการเคลื่อนตัวที่ระบุไว้ในแบบของข้อต่อเท่านั้น
5. ข้อควรระวังในการเชื่อมเวลาติดตั้งข้อต่อ
1) ตามที่ Bellow ขึ้นรูปมาจากแผ่น Stainless ที่บาง ต้องระมัดระวังไม่ให้ลวดเชื่อมไปแตะถูก Bellow ทำให้เกิด
2) หาวิธีป้องกันข้อต่อ ไม่ให้ประกายไฟที่เกิดจากการเชื่อมหรือเจียรไปกระทบกับตัวข้อต่อ โดยอาจจะใช้ผ้ากระสอบหรือวัสดุอื่น มาคลุมตัวข้อต่อ
จำนวนของข้อต่ออ่อนและความยาวที่จำเป็นต่อการติดตั้ง :
>>จำนวนของข้อต่อรับการยืดและหดตัวที่ต้องใช้ สำหรับแต่ละส่วนของเส้นท่อ
ระยะการเคลื่อนตัวในแนวยืดตัวหรือหดตัวของท่อเนื่องอุณหภูมิของท่อ สามารถคำนวณได้จากสูตรที่ (1) ซึ่งจากสูตรจะแสดงถึงระยะการยืดตัวหรือหดตัวของท่อ ที่ขึ้นอยู่กับค่าอุณหภูมิของของไหลในท่อ และระยะของท่อที่เป็นเส้นตรง ส่วนสูตรที่ (2) จะเป็นสูตรคำนวณหาจำนวนของข้อต่อรับการยืดและหดตัวที่ต้องการ เพื่อติดตั้งเข้าไปในระบบท่อเพื่อรองรับระยะการยืดหรือหดตัวของท่อ
สูตรคำนวณหาระยะการยืดและหดตัวของท่อ
.............สูตรที่ (1)
จำนวนของข้อต่อรับการยืดและหดตัว
.............สูตรที่ (2)
>> การกำหนดความยาวของข้อต่อสำหรับติดตั้ง
ค่าการเคลื่อนตัวของข้อต่อรับการยืดและหดตัวจะเคลื่อนตัวจากความยาวของข้อต่อที่ยังไม่มีการเคลื่อนตัว เพื่อได้รับประโยชน์สูงสุดในการใช้ข้อต่อ ต้องให้ค่าการเคลื่อนตัวของท่อเท่ากับค่าการเคลื่อนตัวของข้อต่อ และทำให้อายุการใช้งานและเคลื่อนตัวได้ตามที่ออกแบบ ซึ่งอายุการใช้งานจะลดลงเมื่อการเคลื่อนตัวทั้งแนวยืดและหดเกินจากที่กำหนด ดังนั้นการติดตั้งตามความยาวของข้อต่อสำหรับติดตั้งจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ
อุณหภูมิที่สูงสุดและที่ต่ำสุดของท่อ จำเป็นต้องรู้ก่อนที่ทำการคำนวณหาค่าการเคลื่อนตัว ตามสูตรที่ (1) นอกจากนี้จะต้องรู้อุณหภูมิในขณะที่ทำงานเพื่อกำหนดความยาวของข้อต่อสำหรับติดตั้งได้อย่างถูกต้อง โดยตามสูตรที่ (3) จะใช้ในการหาความยาวของข้อต่อสำหรับติดตั้ง ภายใต้ข้อกำหนดของ การเคลื่อนตัวทางแนวแกนที่สูงสุด ความยาวทั้งหมดของข้อต่อเมื่อยืดออกจนสุด อุณหภูหิที่สูงสุดและที่ต่ำสุดของท่อ อุณหภูมิบรรยากาศในบริเวณที่ติดตั้ง และค่าสัมประสิทธิ์ในการขยายตัวตามแนวแกนของท่อ
Ls = Le – Xa [(t2 – t1)/(T – t1)] …………สูตรที่ (3)
L : ความยาวของท่อที่เป็นเส้นตรง (ระหว่างจุดยึดแน่น 2 จุด) (มม)
Ls : ความยาวของข้อต่อสำหรับติดตั้ง (มม)
Le : ความยาวทั้งหมดของข้อต่อ เมื่อยืดออกจนสุด (มม)
Xa : ระยะการเคลื่อนตัวตามแนวแกนมากที่สุดของข้อต่อ (มม)
T : อุณหภูมิใช้งานมากที่สุดของท่อ (องศาเซลเซียส)
t1 : อุณหภูมิใช้งานน้อยที่สุดของท่อ (องศาเซลเซียส)
t2 : อุณหภูมิของบรรยากาศของท่อ (องศาเซลเซียส)
ɑ : ค่าสัมประสิทธิ์ในการขยายตัวตามแนวแกนของท่อ ( / องศาเซลเซียส)
การเคลื่อนตัวของข้อต่อรับการยืดและหดตัวทำด้วย Stainless
(Stainless Steel Expansion Joint Movement)
- รุ่น SJT1100
การยืดและหดตัวตามแนวแกน (Axial Movement)
- รุ่น SJT1200
การยืดและหดตัวตามแนวแกน (Axial Movement)
รุ่น Facolex เป็นสายข้อต่ออ่อนที่เหมาะใช้กับการเชื่อมต่อกับเครื่องพัดลมคอยล์เย็น(Fan Coil Unit) ในระบบปรับอากาศและอุปกรณ์สุขาภิบาล ด้วยการออกแบบโครงสร้างของFacolex ทำให้การรั่วซึมของน้ำมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นน้อยโครงสร้างของFacolexประกอบด้วยท่อยางอัดแน่นที่มีการหุ้มด้วยสายถักสแตนเลสทำให้มีค่ายืดหยุ่นสูงและทนทานซึ่งจะทำให้การติดตั้งง่ายขึ้น ทนต่อการเสื่อมสภาพ ความร้อนและความดันที่ดีเยี่ยม และจะช่วยให้ท่อมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
Facolex มีให้เลือกตั้งแต่ขนาด 15 มม. – 25 มม. (1/2 “- 1”) ด้วยหัวต่อแบบเกลียว แรงดันใช้งานสูงสุดคือ 20 บาร์และ 16 บาร์สำหรับขนาด 1/2 “และ 3/4” ตามลำดับ และแรงดันสูงสุดที่ 10 บาร์สำหรับขนาด 1" กรุณาติดต่อโตเซนฯเพื่อขอรายละเอียดและแคตตาล็อกเพิ่มเติม
คำแนะนำในการติดตั้ง :
– ข้อต่อควรจะมีค่ายืดเพียงเล็กน้อยภายใต้แรงดัน
– ควรจะทำให้ข้อต่อหลวมเพื่อสะดวกในการติดตั้ง
– การติดตั้งในลักษณะโค้งดัดมากเกินไปหรือโค้งงอที่ผิดปกติอาจทำให้อายุการใช้งานของข้อต่อFacolex สั้นลง
– ใช้ข้องอ 90 องศา สำหรับการช่วยการโค้งงอที่แคบและติดตั้งข้อต่อ Facolex ให้มีรัศมีที่กว่างกว่า รัศมีโค้งที่กำหนดใน specification เพื่อให้ทำงานได้มากขึ้น
– ควรให้ข้อต่อไม่มีการบิดขณะขันน็อตให้แน่นในระหว่างการติดตั้ง. ในกรณีที่เกิดการเคลื่อนตัวออกอย่างต่อเนื่องให้วางท่อให้มีทิศทางของการเคลื่อนที่ในระดับเดียวกันด้วยการดัดสายข้อต่อ Facolex และหลีกเลี่ยงการบิด (การหมุนบิดจะทำให้ข้อต่อโลหะหลวม และจะทำให้เกิดความเสียหายต่อข้อต่อในระยะเริ่มแรก ควรจะใช้ประแจปากกา 2 ชิ้นจับเพื่อไม่ทำให้เกิดการบิด)
หัวต่อมีอยู่ 2 ประเภทคือ nipple และ adaptor ติดตั้งข้อต่อตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ข้อต่อตรงเกลียวนอก(เกลียวตัวผู้)
พันข้อต่อตรงเกลียวนอกด้วยเทปพันเกลียว (หรือวัสดุปิดผนึกอื่น ๆ ) และหมุนด้วยมือให้แน่นขึ้นจนสุดระยะห่างที่กำหนดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตรวจสอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับท่อแล้วใช้ประแจปากกาขันเข้าที่ท่อเข้ากับข้อต่อตรงเกลียวนอกให้แน่น ในกรณีที่มีการถอด หรือประกอบข้อต่อตรงเกลียวนอกเข้าไปใหม่หลังติดตั้งแล้ว ควรจะทำความสะอาดเกลียวของข้อต่อและเปลี่ยนเทปพันเกลียวใหม่เพื่อให้แน่นขึ้น
2. ตัวแปลง Adaptor (เกลียวตัวเมีย)
– ตรวจสอบเกลียวของท่อที่จะเชื่อมต่อว่าไม่มีความเสียหายของเกลียวเกิดขึ้นและตรวจสอบการเชื่อมต่อเป็นหน้าเรียบสำหรับปะเก็น
– วางปะเก็นลงในอะแดปเตอร์และขันด้วยมือให้ได้ระยะห่างเท่าที่จะเป็นไปได้
– ใช้ประแจในการขันเชื่อมต่อกับท่อ (ข้อต่อตรงตัวผู้ อื่น ๆ) โดยไม่ให้สายบิดและขันอะแดปเตอร์ให้แน่นขึ้นด้วยประแจ ฯลฯ
– ในกรณีที่มีการถอด หรือประกอบอะแดปเตอร์เข้าไปใหม่หลังติดตั้งแล้ว ควรจะเปลี่ยนปะเก็นใหม่และขันให้แน่นขึ้น
– อย่าใช้ปะเก็นอื่นนอกเหนือจากที่แนบมา อาจเกิดสภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นการรั่วไหล ฯลฯ
– หากคุณพบว่าปะเก็นที่แนบมา ไม่มี หรือมีไม่ครบเพื่อติดตั้ง โปรดแจ้งทางโตเซนทันที
มาตรฐาน การขันแน่น สำหรับ อะแดปเตอร์ Adaptor
Nominal Dia. | Standard Tightening Torque [N.cm] (kgf.cm) |
15A | 2900 (300) |
20A | 5900 (600) |
25A | 9800 (1000) |
32A | 14700 (1500) |
40A | 19600 (2000) |
50A | 29400 (3000) |
เนื่องจากตัวสายข้อต่อของ Facolex ภายในเป็นวัสดุยาง ข้อต่อFacolexจึงไม่สามารถใช้ใกล้กับแหล่งความร้อน สถานที่ที่มีความร้อนสูงเกิดขึ้น เมื่อมีการเชื่อมหรือตัดท่อในบริเวณใกล้เคียงหลังจากการติดตั้ง Facolex ไปแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันข้อต่อ Facolex ให้ใช้แผ่นวัสดุครอบคลุมเช่น แผ่นกันสะเก็ดไฟ SPARK GUARD จากประกายไฟ ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการถ่ายเทความร้อนเมื่อเชื่อมหรือตัดอันอาจจะทำให้ Facolexเกิดความเสียหาย ให้ถอดข้อต่อออกจากท่อก่อนแล้วค่อยเริ่มการทำการเชื่อมต่อไป