อุปกรณ์รับการสั่นสะเทือนแบบตั้งพื้น

อุปกรณ์รับการสั่นสะเทือนแบบตั้งพื้น

สินค้าที่ใช้สำหรับลดแรงสั่นสะเทือน (Vibration Isolation Products)

โดยทั่วไปอาคารจะมีระบบปรับอากาศ และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อเพิ่มความสบายให้กับการอยู่อาศัยและทำงาน แต่เนื่องจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งมักจะมีแรงสั่นสะเทือนเกิดขึ้นเมื่อมีการทำงาน แล้วเกิดเสียงรบกวนต่อคนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการร้องเรียน การมีการสั่นสะเทือนที่มากขึ้นก็จะส่งให้มีเสียงรบกวนมากขึ้น ทำให้ส่วนพื้นที่อื่นที่อยู่ใกล้ก็ได้รับผลนี้ด้วย

สินค้าที่ลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงของ Tozen ได้รับการออกแบบมาให้ตัดหรือลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงจากอุปกรณ์ที่ทำงานไม่ส่งผ่านไปทางโครงสร้าง ชิ้นส่วนของสปริงจะเป็นไปตามมาตรฐานของ JIS B2704(for semi-permanent use) ทำให้สินค้าที่ควบคุมแรงสั่นสะเทือนและเสียงของ Tozen ได้รับการยอมรับในคุณภาพในการลดปัญหาของแรงสั่นสะเทือนและเสียง

รุ่น PTM-A ประกอบด้วยตัวสปริง (Spring Element) ที่เคลื่อนตัวได้อย่างอิสระ ภายในฝาครอบบนและฝาครอบล่างจะมีแผ่นยางติดอยู่ในฝาทั้งบนและล่าง สลักเกลียวสำหรับยึดแท่นเครื่องเข้ากับตัวสปริง และสลักเกลียวสำหรับปรับระดับ รุ่น PTM-A ออกแบบมาให้มีค่าการยุบตัวมาตรฐาน (Standard Deflection) ที่ 25, 50, และ 80 มม. สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 25 ถึง 1,400 กิโลกรัม สำหรับสปริงเดี่ยว (Spring Element) และที่ 11,200 กิโลกรัม สำหรับหลายสปริง (Multiple Spring Element) สามารถนำไปติดตั้งกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วรอบต่ำ เพื่อตัดหรือลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงไปที่โครงสร้างของอาคาร เช่น Reciprocating Air หรือ Refrigeration Compressors, ปั๊มน้ำ, เครื่องส่งความเย็น, และ พัดลม

วิธีการติดตั้งรุ่น PTM-A

  1. ยกแท่นเหล็กหรือแท่นปูน (Inertia Base) ขึ้น ให้มากกว่าค่า Operating Height (ค่าจาก Catalog) ประมาณ 5 มม. แล้วหาตัวรองแท่นที่เป็นปูนหรือไม้มารองจำนวนตามจุดที่มีสปริงติดตั้ง จากนั้นให้หาระยะติดโครงเหล็ก (Steel Support) ที่จะเชื่อมติดกับแท่น เพื่อวางบนสลักเกลียวปรับระดับ (Leveling Bolt) ของชุดสปริง โดยคำนวณหาระยะจากขอบล่างแท่นขึ้นมา โดยการนำค่า Operating Height มาลบระยะความสูงจากพื้นถึงฐานล่างที่ต้องการ ก็จะได้ระยะที่ติดโครงเหล็ก (Steel Support)                                                                                                            หมายเหตุ : หลังจากทำตามที่กล่าวมาแล้ว สามารถติดตั้งท่อและอุปกรณ์ได้ทั้งหมด และเปิดระบบท่อให้ทำงานได้ก่อน ก่อนที่จะนำชุดสปริงเข้าไปติดตั้ง
  1. นำสปริงมาติดตั้งใต้โครงเหล็กที่วางบนสปริง แล้วขันสลัก (Locking Nut) ทุกจุด แต่ยังไม่ต้องขันให้แน่น
  2. ถ่ายน้ำหนักของอุปกรณ์ไปที่สปริง โดยให้ขันสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) ตามทิศทวนเข็มนาฬิกาที่ละจุดของสปริง สปริงจะถูกกดลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแท่นเหล็กหรือแท่นปูนลอยเหนือตัวรองแท่น แล้วนำตัวรองแท่นออก จากนั้นให้ทำลักษณะนี้ทุกจุดที่ติดตั้งสปริง
  3. หลังจากปรับทุกจุด แล้วให้ขันสลัก (Locking Nut) ทุกจุดให้แน่น

สปริงรุ่น PTM-C ประกอบด้วยตัวสปริง (Spring Element) อยู่ภายในโครงเหล็กเพื่อควบคุมการเคลื่อนตัวของตัวสปริงไม่ให้ไปด้านข้างมากเกินไป โดยจะมียางแผ่นหนา 8 มม. ติดอยู่ด้านล่างของโครงเหล็กด้านล่าง เพื่อรองรับเสียงที่เกิดจากโครงเหล็กไปสัมผัสกับพื้นและป้องกันการลื่นไถล และมีสลักปรับระดับและสลักล๊อกอยู่ด้านบนของโครงเหล็ก

วิธีการติดตั้งรุ่น PTM-C :

  1. ให้ขันตัวสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) และน๊อตยึด (Locking Nut) ออกจากโครงเหล็กส่วนบนของชุดสปริง
  2. ยกแท่นขึ้น ให้มากกว่าค่า Operating Height (ค่าจาก Catalog) ประมาณ 5 มม. แล้วหาตัวรองแท่นที่เป็นลูกปูนหรือไม้มารองจำนวนตามจุดที่มีสปริงติดตั้ง จากนั้นให้หาระยะติดโครงเหล็ก (Steel Support) ที่จะเชื่อมติดกับแท่นและวางบนโครงเหล็กส่วนบนของชุดสปริง (Top Plate) โดยคำนวณหาระยะจากขอบล่างแท่นขึ้นมา โดยการนำค่า Operating Height มาลบระยะความสูงจากพื้นถึงฐานล่างที่ต้องการ ก็จะได้ระยะที่ติดโครงเหล็ก (Steel Support)หมายเหตุ : หลังจากทำตามที่กล่าวมาแล้ว สามารถติดตั้งท่อและอุปกรณ์ได้ทั้งหมด และเปิดระบบท่อให้ทำงานได้ก่อน ก่อนที่จะนำชุดสปริงเข้าไปติดตั้ง
  3. นำสปริงมาติดตั้งใต้โครงเหล็กที่วางบนสปริงทุกจุด แล้วนำตัวสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) และน๊อตยึด (Locking Nut) มาขันเข้าไปทุกจุด แต่ส่วนน๊อตยึดยังไม่ต้องขันยึดแน่น แล้วจากนั้นให้ขันสลักปรับระดับที่ละจุดในทิศทวนเข็มนาฬิกาที่ละ 2 รอบ จนกระทั่งนำตัวรองแท่นออกมาได้ ทำลักษณะนี้ทุกจุดจนครบ
  4. พอได้ระดับทั้งหมดแล้ว ให้ขันน๊อตยึดลงไปติดกับโครงเหล็กด้านบน แล้วล๊อคให้แน่นทุกจุด

สปริงรุ่น PTM-D ประกอบด้วยตัวสปริง (Spring Element) อยู่ภายในโครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของอุปกรณ์ วัสดุของโครงเหล็กทำมาจากเหล็กหล่อเหนียว โดยโครงเหล็กส่วนบน (Upper Plate) จะมีรูเกลียว มีสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) และสลักด้านข้าง(Bolt & Nut)เพื่อควบคุมการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของอุปกรณ์ ไม่ให้เคลื่อนตัวขึ้นมากเกินไป โครงเหล็กส่วนล่าง (Lower Plate) ที่มียางแผ่นลองอยู่ด้านล่าง ซึ่งมีจุดให้ยึดกับพื้นหรือโครงสร้างให้แน่น

สปริงรุ่น PTM-D ออกแบบมาให้มีค่าการยุบตัวมาตรฐาน (Standard Deflection) ที่ 25, 50, และ 80 มม. และสามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 450 ถึง 8,400 กิโลกรัม จะใช้ติดตั้งกับอุปกรณ์ เช่น Chillers, Cooling Towers, และ Boilers ที่มีน้ำหนักเปลี่ยนแปลงมาก และสามารถรองรับการเคลื่อนตัวของอุปกรณ์เนื่องจากแรงลมได้

วิธีการติดตั้งรุ่น PTM-D:

  1. ตรวจสอบตำแหน่งของสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) ที่อยู่ภายในโครงเหล็ก ว่าต้องอยู่ในตำแหน่งติดกับใต้โครงเหล็กส่วนบน (Upper Plate)
  2. ยกอุปกรณ์ขึ้น ให้ขาที่จะวางบนชุดสปริง สูงมากกว่าค่า Operating Height (ค่าจาก Catalog) ประมาณ 5 มม. แล้วหาตัวรองอุปกรณ์มารองตามจุดที่จะติดตั้งชุดสปริงหมายเหตุ : หลังจากทำตามที่กล่าวมาแล้ว สามารถติดตั้งท่อและอุปกรณ์ได้ทั้งหมด และเปิดระบบท่อให้ทำงานได้ก่อน ก่อนที่จะนำชุดสปริงเข้าไปติดตั้ง
  3. ก่อนนำชุดสปริงมาติดตั้ง ให้นำตัวคั่น (Spacer) ออกก่อน แล้วค่อยนำชุดสปริงมาติดตั้งตามจุด แล้วให้ตรวจสอบว่าตำแหน่งของสลักด้านข้าง (Bolt & Nut) เพื่อควบคุมการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของอุปกรณ์ โดยห้ามไปสัมผัสกับโครงเหล็ก จากนั้นให้ยึดโครงเหล็กด้านล่าง (Lower Plate) เข้ากับโครงสร้างหรือพื้น แล้วให้ขันสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) ในทิศทวนเข็มนาฬิกาจนไปสัมผัสกับขาของอุปกรณ์ แล้วยึดให้แน่น
  4. ขันสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) ในทิศทวนเข็มนาฬิกาที่ละ 2 รอบ ไปจนสามารถเอาตัวรองอุปกรณ์ออกได้ แล้วให้ขันสลักด้านข้าง (Bolt & Nut) เพื่อควบคุมการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งของอุปกรณ์ ลงไปประมาณ 2 ถึง 3 มม. จากนั้นให้ทำลักษณะนี้ทุกจุด
  5. หลังจากมีน้ำเติมเข้าไปในอุปกรณ์แล้ว ให้ตรวจสอบระดับของอุปกรณ์ โดยสามารถปรับขันสลักปรับระดับ (Leveling Bolt) เพื่อทำให้อุปกรณ์ได้ระดับ

รุ่น PTM-G เป็นรุ่นที่หล่อมาจากยาง Neoprene มีแผ่นกระจายน้ำหนักทั้งด้านบนและด้านล่าง พร้อมสลัก (Bolt) น๊อต (Nut) และแหวนสปริง (Spring Washers) ทั้งด้านบนและด้านล่าง เพื่อยึดติดเข้ากับอุปกรณ์และโครงสร้าง

รุ่น PTM-G ออกแบบมาให้สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 20 ถึง 1,500 kg. สามารถนำไปติดตั้งกับอุปกรณ์ เช่น ปั้มน้ำขนาดเล็ก เครื่องเป่าลมเย็นขนาดเล็ก และอุปกรณ์อื่นๆ ซึ่งทั่วไปรุ่นนี้จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงตามที่ต้องการได้

รุ่น PTM-GP เป็นรุ่นที่หล่อมาจากยาง Neoprene มีแผ่นกระจายน้ำหนักทั้งด้านบนและด้านล่าง ออกแบบมาให้สามารถรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 30 ถึง 450 kg. มีความเหมาะสมในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ปั้มน้ำขนาดเล็ก เครื่องเป่าลมเย็นขนาดเล็ก และอุปกรณ์อื่นๆ

รุ่น PT-Mat ผลิตมาจากยางคุณภาพดี มีร่องทั้งสองด้านเป็นรูปกากบาท มีทั้งหมด 3 ความหนา ที่ค่าความแข็งของยาง 55 durometer โดยสามารถรับน้ำหนักที่แนะนำสูงสุดได้ที่ 4 กิโลกรัมต่อตารางเซ็นติเมตร ทำให้มีค่าการยุบตัวไม่เท่ากันของแต่ละความหนา แต่รุ่นนี้จะให้ค่าการยุบตัว (Deflection) ที่น้อย หากต้องการเพิ่มค่าการยุบตัว ต้องนำรุ่นนี้มาทำเป็น 2 ชั้นหรือมากกว่า แต่ต้องมีแผ่นเหล็กมาคั่นระหว่างชั้น สามารถนำไปติดตั้งกับอุปกรณ์ที่มีความถี่สูงที่อยู่ชั้นใต้ดินหรือชั้นล่างสุด หรือพื้นที่ที่ไม่ต้องควบคุมแรงสั่นสะเทือน

รุ่น PTH-S จะประกอบขึ้นจากกล่องเหล็ก (Hanger Box) มีตัวสปริง (Spring Element) อยู่ภายใน พร้อมด้วยถ้วยรองตัวสปริง (Steel Cup) เพื่อรองรับน้ำหนัก และยางรอง (Rubber Washer) ส่วนรุ่น PTH-SG จะมีส่วนประกอบเหมือนกับรุ่น PTH-S แต่จะมีลูกยางติดอยู่ส่วนบนของกล่องเหล็ก (Hanger Box) เพื่อลดเสียงที่เกิดจากขยับของกล่องเหล็ก (Hanger Box) โดยทั้งสองรุ่นจะสามารถติดตั้งโดยใช้แท่งเหล็กเกลียว (Hanger Rod) หรือยึดกับพื้นเพดาน

รุ่น PTH-S มีค่าการยุบตัว (Deflection) ที่ 25 และ 50 มม. น้ำหนักที่รองรับได้ตามมาตรฐานตั้งแต่ 25 ถึง 5,600 kg. ส่วนรุ่น PTH-SG สามารถรองรับน้ำหนักได้สูงสุดที่ 825 kg. ทั้งรุ่น PTH-S และ PTH-SG ถูกนำไปแขวนเพื่อลดแรงสั่นสะเทือนและเสียงจากอุปกรณ์ ได้แก่ พัดลม ท่อน้ำ ท่อลม หรืออุปกรณ์อื่นๆ

วิธีการติดตั้งรุ่น PTH-S:

  1. พิจารณาความสูงและตำแหน่งที่จะติดตั้ง พร้อมกับเตรียมแท่งเหล็กเกลียว (Hanging Rods) ทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ตามความยาวและตำแหน่งที่จะติดตั้ง
  2. ติดแท่งเหล็กเกลียว (Hanging Rod) ส่วนบนเข้ากับพื้นเพดาน
  3. ติดแท่งเหล็กเกลียว (Hanging Rod) ส่วนล่างเข้ากับชุดสปริง แล้วขันน๊อตปรับระดับ (Leveling Nut) ด้านบนติดกับฝาครอบตัวสปริง (Upper Hanger) ซึ่งถ้าสามารถทำการกดตัวสปริง (Pre-compress) ให้ยุบลงไปได้ ให้กดลงไปประมาณ 10 มม. โดยต้องขันน๊อตและแหวนรองด้านล่าง (Nut & Washer) ของกล่องเหล็ก ในทิศทวนเข็มนาฬิกา
  4. นำชุดสปริงที่ติดแท่งเหล็กเกลียวส่วนล่างแล้ว ไปติดเข้ากับแท่งเหล็กเกลียวส่วนบน
  5. นำแท่งเหล็กเกลียวส่วนล่างไปติดเข้ากับอุปกรณ์ ท่อ หรือท่อลม
  6. ติดตั้งชุดสปริงให้ครบทุกจุด
  7. หลังจากมีน้ำเข้าไปในอุปกรณ์หรือท่อ ในกรณีที่ได้ทำการกดตัวสปริงลงไปตั้งแต่เริ่มติดตั้ง ให้ขันน๊อตและแหวนรอง (Nut & Washer) ด้านล่างกล่องเหล็กในทิศตามเข็มนาฬิกา แล้วให้ขันน๊อตปรับระดับ (Leveling Nut) ไปที่ละ 3 รอบ ในทิศตามเข็มนาฬิกา ไปทีละจุดโดยรอบจนถึงระดับที่ต้องการ
  8. ตรวจสอบค่าการยุบตัวของตัวสปริง ว่ามีค่าเหมาะสมหรือไม่ แต่ห้ามติดตั้งให้แท่งเหล็กเกลียวอยู่ในแนวเอียง

รุ่น PTH-G จะประกอบขึ้นจากกล่องเหล็ก (Hanger Box) และมีลูกยางที่มีแผ่นเหล็กเพื่อกระจายน้ำหนักอยู่ด้านในเนื้อยางทั้งด้านบนและด้านล่าง ลูกยางจะถูกติดตั้งเข้าไปในด้านล่างของกล่องเหล็ก (Hanger Box) เพื่อตัดเสียง

รุ่น PTH-G มีค่าการยุบตัวมากที่สุด (Deflection) ที่ 6 มม. และสามารถรองรับน้ำหนักได้ตั้งแต่ 25 ถึง 450 กิโลกรัม
รุ่น PTH-GG จะมีลูกยาง เพิ่มเข้าไปในกล่องเหล็กด้านบนด้วย (Hanger Box) โดยทั้งสองรุ่นถูกนำไปติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์ ท่อหรือท่อลม เพื่อตัดเสียง โดยปรกติจะถูกเลือกเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งในครั้งแรกตามที่ต้องการ

error: Content is protected !!

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายการใช้คุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้คำนวณข้อมูลผู้เข้าชม

    คำนวณข้อมูลผู้เข้าชม เซสชัน และแคมเปญ และยังติดตามการใช้งานไซต์สำหรับรายงานการวิเคราะห์ของไซต์ คุกกี้เก็บข้อมูลโดยไม่เปิดเผยตัวตนและกำหนดหมายเลขที่สร้างขึ้นแบบสุ่มเพื่อระบุผู้เยี่ยมชมที่ไม่ซ้ำ

  • คุกกี้เก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชม

    เก็บข้อมูลว่าผู้เยี่ยมชมใช้งานเว็บไซต์อย่างไร ในขณะเดียวกันก็สร้างรายงานการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเว็บไซต์ด้วย ข้อมูลบางส่วนที่เก็บรวบรวม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าชม แหล่งที่มา และหน้าที่เข้าชมโดยไม่ระบุชื่อ

บันทึกการตั้งค่า